การอุดฟัน / อุดฟันด้วยเซรามิก

การอุดฟันสามารถเลือกวัสดุอุดฟันได้ตามต้องการ โดยมีประเภทวัสดุอุดฟันหลายอย่าง แต่ทั้งนี้ควรที่จะปรึกษากับทันตแพทย์อีกครั้งก่อนว่าต้องใช้วัสดุอุดฟันประเภทไหนจึงจะเหมาะสมกับคนไข้

การอุดฟันคืออะไร

การรักษาหรือการบูรณะฟันที่ถูกทำลายจากการผุให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม โดยทันตแพทย์จะใช้กระจกเล็กเพื่อตรวจสอบพื้นผิวของฟันแต่ละซี่ที่ดูผิดปกติหรือถูกทำการตรวจอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือพิเศษ ซึ่งทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันที่มีหลายประเภทได้แก่ ทอง พอร์เซเลน คอมโพสิตเรซิน เซรามิก อมัลกัม เงิน ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น

ประเภทวัสดุอุดฟัน

วัสดุอุดฟันมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท

1. การอุดฟันด้วยอมัลกัม (เงิน)

วัสดุอมัลกัม เป็นวัสดุที่อุดฟันแล้วจะเห็นสีเงิน เนื่องจากเป็นโลหะปรอท 99% ผสมเงินดีบุกและทองแดง โดยมีวัสดุมีความแข็งแรง สีของโลหะไม่เหมือนสีฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะใช้อุดฟันกราม ด้านใน ฟันที่ใช้ขบเคี้ยวหนัก ๆ 

ข้อดี – วัสดุอมัลกัมมีราคาถูกที่สุด มีลักษณะของผิวสัมผัสที่เห็นได้ชัด มีความแวววาวของผิวโลหะ มีความืนทาน ยับยั้งอาการฟันผุได้ดี

ข้อเสีย – ต้องมีการกรอเนื้อฟันออกเยอะเพื่อให้วัสดุที่อุดสนิทกับฟัน และต้องรอให้วัสดุที่อุดแข็งตัว

2. การอุดฟันด้วยทอง

วัดดุอุดฟันด้วยทองจะทำขึ้นจากในห้องปฏิบัติการ จะมีลักษณะที่ไม่ระคายเคืองต่อเหงือก หลายคนเลือกในการเป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุดที่อยู่ได้นานถึง 20 ปี ทำให้หลายคนเลือกวัสดุสีทองในการอุดฟันทองนี้

ข้อดี – วัสดุอุดฟันทองสามารถอยู่ได้นานถึง 20 ปี ไม่ค่อยระคายเคืองต่อเหงือก ให้ความสวยงามคล้ายฟันจริงมากกว่า

ข้อเสีย – มีราคาแพงที่สุด และต้องพบทันตแพทย์หลายครั้ง

3. การอุดฟันด้วยเรซินคอมโพสิต หรือวัสดุอุดสีเหมือนฟันที่ใช้ในการอุดฟันทั่วไปในปัจจุบัน

วัสดุพลาสติกหรือเรซิน จะนิยมใช้่กันมากเพราะมีลักษณะสีเหมือนฟันธรรมชาติและมีสีสันสวยงาม มีความแข็งแรงพอสมควร เพียงแต่วัสดุคอมโพสิตจะไม่สามารถอุดฟันแนวกว้างได้ และอุดฟันหลังที่รับแรง บดเคี้ยวได้ไม่มาก

เคสตัวอย่าง ก่อน-หลังอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันคอมโพสิต

ข้อดี – วัสดุคอมโพสิตมีความเป็นธรรมชาติและมีสีสันสวยงาม มีความแข็งแรงพอควร

ข้อเสีย – ไม่สามารถอุดฟันในบริเวณกว้างได้ ไม่มีความคงทน

4. การอุดฟันด้วยพอร์ซเลน หรือ เซรามิกอินเลย์ ออนเลย์

วัสดุพอร์ซเลน หรือ เซรามิกอินเลย์ ออนเลย์ เป็นวัสดุที่ทำขึ้นในห้องปฏิบัติการและนำมาเชื่อมต่อกับฟัน มีความแข็งและเปราะบางมาก ส่งผลให้ฟันคู่สบเกิดการสึกหรอได้ง่าย มีความทนต่อคราบ การอุดฟันพอร์ซเลนจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่

เคสตัวอย่าง ก่อน-หลังอุดฟันด้วยวัสดุเซรามิก หรือ พอร์ซเลน

ข้อดี – วัสดุเซรามิกสามารถทำให้สีเข้ากับสีฟันได้ มีความทนทานต่อคราบ

ข้อเสีย – วัสดุเซรามิกมีความแข็งและเปราะมากจึงส่งผลให้ฟันคู่สบเกิดการสึกหรอได้ง่าย

อุดฟันด้วยเซรามิกคืออะไร

การอุดฟันจะขึ้นกับเนื้อฟันส่วนที่เหลือหากเหลืออยู่มากทันตแพทย์จะเลือกวิธีอุดฟันธรรมดา หากเหลือฟันน้อยอาจต้องใช้วิธี Inlay หรือ Onlay 

Inlay หรือ Onlay  หมายถึงการบูรณะฟันที่มีฟันผุขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใข้วัสดุเฉพาะอย่างเซรามิกหรือ Inlay Onlay ในการอุดฟัน ไม่เหมาะกับการอุดฟันวัสดุทั่วไปเพราะจะไม่แข็งแรงพอ โดยทันตแพทย์จะทำการบูรณะฟันชิ้นงานใหม่ให้พอดีกับเนื้อฟันที่กรอออกไป จากนั้นนำมาติดบนฟันโดยมีตัวยึดให้ชิ้นวัสดุติดแนบให้อยู่กับตัวฟัน ซึ่งมีข้อดีคือสามารถ รักษาเนื้อฟันส่วนที่ดีไว้ได้มากกว่าการทำครอบฟัน

อุดฟันด้วยเซรามิกดีกว่าแบบอื่นอย่างไร

  • เป็นการอุดฟันที่มีการพิมพ์ปากสำหรับการทำชิ้นงานใหม่เฉพาะบุคคลนั้น ๆ ถือได้ว่าเป็นการอุดฟันที่มีมาตรฐานสูง
  • วัสดุเซรามิกสามารถอุดฟันพื้นที่ขนาดใหญ่ได้มากกว่า
  • วัสดุเซรามิกเมื่อใช้นานไปสีวัสดุจะไม่เปลี่ยนไป ไม่มีปัญหาเปลี่ยนสีตามสีอาหาร
  • หากเลือกวัสดุเซรามิกอุดฟันจะสามารถเลือกสีให้เข้ากับสีฟันของทุกคนได้ ไม่ให้เห็นสะดุดตา
  • สามารถใช้การอุดฟันด้วยเซรามิกแก้ปัญหาแทนการครอบฟันได้ดีกว่าอุดฟันแบบอื่น เพราะถือเป็นการบูรณะฟันมากกว่าการอุดฟัน

ขั้นตอนการอุดฟันด้วยเซรามิก

การอุดฟันด้วยเซรามิกมีความพิเศษกว่าการอุดฟันทั่วไป โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการอุดฟันดังนี้

1.ทันตแพทย์จะเริ่มทำการกรอฟันสำหรับการเตรียมเนื้อฟัน

2.ขั้นตอนต่อมาคือการพิมพ์ปาก เพื่อส่งต่อห้องแลปทันตกรรมในการทำชิ้นงานรูปฟันของแต่ละบุคคล

3.ระหว่างนี้ทันตแพทย์จะอุดฟันแบบชั่วคราวให้ก่อนเพื่อรอชิ้นงานจริง

4.เมื่อชิ้นงานสำเร็จ ทันตแพทย์จะรื้อชิ้นงานวัสดุอุดฟันชั่วคราวออก แล้วทำการยึดติดชิ้นงานลงที่ฟันที่กรอเตรียมไว้ให้

ใครบ้างที่ต้องอุดฟัน

  • สำหรับผู้ต้องอุดฟัน คือผู้ที่มีปัญหาฟันผุ ฟันแตก ฟันสึก ปวดฟัน
  • คนที่อุดฟันมาแล้วแต่มีปัญหาที่บริเวณอุดฟันแตกหรือหลุด
  • ผู้ที่มีปัญหาฟัสห่าง โดยทันตแพทย์จะใช้วิธีอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน
  • ผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนสีของวัสดุอุดฟัน
  • ผู้ที่ทำให้บริเวิณผิวฟันคอฟันเกิดการสึกกร่อน
  • พบหนองเกิดขึ้น หรือปวดบวมอย่างหนักบริเวณเหงือกของฟันซี่ที่มีรอยผุ
  • ฟันแตกจนเกิดรอยผุเป็นรูบนตัวฟัน

สาเหตุที่ต้องอุดฟัน

การอุดฟันจะช่วยปิดช่องทางไม่ให้แบคทีเรีย หรือคราบเศษอาหารเข้าไปในโพรงฟันจนอักเสบกับเนื้อฟัน ซึ่งนำมาปัญหาเหงือกอักเสบ เกิดหนอง ฟันผุลามไปยังโพรงรากฟัน รากฟันเสื่อม ฟันล้ม โดยการอุดฟันจะเป็นการทดแทนเนื้อฟันที่เสียไปด้วยการใช้วัสดุอุดฟันชนิดแตกต่างกันไป เพื่อเติมเนื้อฟันให้กลับมามีรูปร่างฟันที่ปกติ ใช้บดเคี้ยวอาหารได้อย่าง มีประสิทธิภาพ 

ข้อดีของการอุดฟัน

  • ช่วยทำให้ช่องฟันกลับมาบดเตี้ยวได้ดีเป็นปกติ
  • การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน จะช่วยทำให้ฟันกลับมาดูเป็นธรรมชาติได้อีกครั้ง
  • ช่วยลดอาการปวดหรือเสียวจากฟันผุได้
  • ช่วยป้องกันฟันผุลุกลามไปยังโพรงประสาทฟันได้
  • มีราคาไม่แพง

ข้อเสียของการอุดฟัน

ข้อเสียตรงวัสดุอุดฟันที่อาจหลุดหรือเสื่อมอายุได้ แต่หากดูแลกันดี ๆ ก็สามารถอยู่ได้ยาวนานเป็นสิบ ๆปี

หากมีการสูญเสียเนื้อฟันจำนวนมากจะไม่สามารถบูรณะฟันได้ด้วยการอุดฟัน

การเตรียมตัวก่อนการอุดฟัน

  • ขั้นแรก ให้ทำการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์ และเพื่อทำการตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ทั้งนี้คนไข้ควรแจ้งกับทันตแพทย์ด้วยหากมีโรคประจำตัวหรือทานยาประจำอะไรอยู่
  • ควรทำความสะอาดช่องปากให้เรียบร้อย
  • กรณีคนไข้มีฟันผุ จะต้องมีเนื้อฟันเหลือพอให้วัสดุที่ใช้อุดฟันยึดเกาะได้ และบางกรณีอาจแนะนำให้ขูดหินปูนก่อน

ขั้นตอนการอุดฟัน

  • ทันตแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพฟันก่อนเพื่อตรวจเช็คสภาพฟันผุ และคราบหินปูน เพื่อประเมินการรักษาว่าการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่
  • ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันที่ผุมีการติดเชื้อออก โดยลักษณะเนื้อฟันที่นิ่ม ยุ่ย สีฟันอาจมีการเปลี่ยนสี โดยทันตแพทย์จะฉีดยาชาให้ก่อนเพื่อป้องกันการเสียวฟันถ้าคนไข้มีฟันผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน
  • ถ้าฟันผุลึกเข้าไปชั้นในเนื้อฟัน ทันแพทย์จะใส่วัสดุรองพื้นช่วยลดการเสียวฟัน
  • ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันด้วยวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันที่คุยกันไว้กับคนไข้ หากใช้วัสดุอุดฟันเหมือนสีฟันจะต้องทำการใส่วัสดุเรซินสลับการฉายแสง LED ให้วัสดุแข็งตัวเป็นชั้น ๆ และปรับแต่งจนได้ขนาดและรูปร่างที่เหมาะสม
  • ทันตแพทย์จะขัดวัสดุให้เรียบไปกับฟันธรรมชาติ
  • ทันตแพทย์จะตรวจสอบการสบของฟันด้วยการกัด โดยจะต้องกัดพอดีกับฟันเดิมในช่องปาก

การดูแลรักษาหลังการอุดฟัน

  • ทำความสะอาดฟันโดยใช้แปรงขนอ่อนและแปรงฟันให้ถูกวิธี
  • ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย กับน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งเกิน น้ำแข็ง เมล็ดถั่ว เพราะอาจทำให้วัสดุแตก
  • หลีกเลี่ยงอาหารเย็นหรือร้อนจัดเพื่อเลี่ยงอาการเสียวฟัน
  • กรณีคนไข้อุดฟันอมัลกัม ต้องงดการเคี้ยวด้วยฟันซี่ที่อุดเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อให้วัสดุอุดฟันแข็งตัวเต็มที่
  • กลับมาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

อาการหลังการอุดฟัน

อาการหลังการอุดฟันที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนไข้แต่ละบุคคล อาจมีอาการไม่เหมือนกัน ได้แก่อาการเสียวฟัน อาการปวดฟันได้ แต่อาการดังกล่าวจะหายไปได้เองภายใน 3-5 วัน แต่หากมีอาการปวดฟันสามารถทานยาระงับอาการปวดได้ แต่หากอาการไม่ทุเลาลง หรือมีอาการผิดปกติ แนะนำให้ไปพบทันแพทย์โดยทันที

อุดฟันที่ไหนดี

อุดฟันที่ไหนดี  เราไม่สามารถตอบได้ว่าคลินิกไหนดี แต่เราแนะนำให้เลือกคลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัยจากกระทรวงสาธารณสุข มีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและครบครัน พร้อมอำนวยความสะดวกในการรักษาทันตกรรมได้ทุกประเภท สถานที่ ไม่ว่าจะโรงพยาบาล หรือ ภายในคลินิกมีความสะอาดและมีการดูแลและให้บริการคนไข้อย่างดี ใส่ใจตอบคำถามคนไข้อย่างละเอียดชัดเจน และเราขอแนะนำคลินิกทันตกรรมในเครือสไมล์เด็นทอลกรุ๊ป  

บริการด้านทันตกรรม