ฟันแบบไหนต้องทำครอบฟัน

ทันตแพทย์จะทำการรักษาด้วยการทำครอบฟันในกรณีต่างๆ ต่อไปนี้

1. ฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปเกือบทั้งซี่ หรือตัวฟันถูกทำลายทำให้สูญเสียเนื้อฟันไปมากจนไม่สามารถบูรณะได้ด้วยการอุดฟัน เช่น กรณีฟันผุลุกลามไปมาก ฟันแตกหัก ฟันร้าว เป็นต้น

ภาพตัวอย่างฟันที่มีวัสดุอุดฟันขนาดใหญ่ ทำให้เนื้อฟันที่เหลือไม่แข็งแรง

2. ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน จำเป็นจะต้องทำครอบฟันหลังรักษารากฟันเพื่อปกป้องฟันและรากฟันซี่นั้นไว้หลังจากรักษารากฟัน

3. ฟันที่ใส่รากฟันเทียม จะต้องใช้ครอบฟันสวมด้านบนของรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม ร่วมกับครอบฟัน

การทำรากฟันเทียม ร่วมกับสะพานฟัน

4. ฟันที่ทำสะพานฟัน จำเป็นจะต้องใช้ครอบฟันเพื่อเป็นส่วนประกอบของสะพานฟัน

ภาพตัวอย่าง ก่อน-หลัง ทำสะพานฟัน

ซึ่งการครอบฟันจะช่วยในการเสริมสร้าง หรือฟื้นฟู บูรณะฟันซี่นั้นๆให้กลับมามีรูปร่างตามปกติ เพื่อให้สามารถใช้งานบดเคี้ยวได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งประโยชน์ของครอบฟันที่สำคัญคือจะช่วยในการคงสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่ และช่วยทดแทนส่วนที่สูญเสียไป

รูปภาพตัวอย่างก่อน และหลังการทำครอบฟันในฟันที่มีวัสดุอุดฟันขนาดใหญ่

วัสดุที่นำมาทำครอบฟันในปัจจุบันก็มีหลายแบบ เช่น

1. ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน (All Porcelain Crowns)

ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน

2. ครอบฟันเซรามิกผสมโลหะ (PFM Crown, or Porcelain Fused to Metal)

เซรามิกผสมโลหะ

3. ครอบฟันโลหะล้วน (Full Metal Crown)

ภาพตัวอย่างครอบฟันโลหะล้วน

ซึ่งการที่จะเลือกวัสดุแบบไหนก็ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความสวยงาม ความแข็งแรง หรือลักษณะของตัวฟันที่จะทำครอบฟัน เป็นต้น

ขั้นตอนของการทำครอบฟัน
– ก่อนจะทำการครอบฟันนั้น ทันตแพทย์จะทำการกรอแต่งฟันก่อน

ตัวอย่างฟันที่ได้ผ่านการกรอเพื่อทำครอบฟัน

– ทันตแพทย์จำเป็นจะต้องกรอฟันเพื่อให้มีพื้นที่ให้ครอบฟัน จากนั้นทันตแพทย์จะทำพิมพ์ฟัน เพื่อเป็นการทำแบบนอกช่องปาก และเป็นการทำชิ้นงานในห้องปฏิบัติการ

ตัวอย่างแบบจำลองฟัน และชิ้นงานครอบฟันที่ทำในห้องปฏิบัติการ

– เมื่อได้ชิ้นงานครอบฟันมาแล้ว ทันตแพทย์ก็จะทำการลอง ปรับแต่ง และ ยึดติดครอบฟันต่อไป

ตัวอย่างครอบฟันที่ได้จากห้องปฏิบัติการ พร้อมที่จะยึดทำการลอง ปรับแต่ง และยึดฟันในช่องปาก