การปิดช่องว่างฟันหน้า

การปิดช่องว่างระหว่างฟันหน้า จะช่วยให้ฟันมีรูปร่างสวย เรียงตัวสวยเป็นระเบียบ โดยไม่มีช่องว่างระหว่างฟันให้เห็น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถยิ้ม หรือพูดได้อย่างมั่นใจ สามารถออกเสียงพูดถูกต้อง รวมทั้งเรื่องของการกัดอาหาร และการทำความสะอาดได้ง่ายตามปกติ

ช่องว่างระหว่างฟันคืออะไร

โดยทั่วไปของลักษณะฟันธรรมชาติจะมีฟันสองซี่ที่อยู่ติดกันสนิทปราศจากช่องว่างใด ๆ แต่หากฟันสองซี่ที่ติกันไม่อยู่ชิดกัน เราจึงเรียกว่ามีช่องว่างระหว่างฟันนั่นเอง ทั้งนี้การมีช่องว่างระหว่างฟันจะส่งผลให้เวลายิ้มจะไม่สวยงาม พูดหรือออกเสียงไม่ชัด หรือเวลาทานอาหารมีคราบหรือเศษอาหารติดตรงช่องว่างระหว่างฟันได้

การปิดช่องว่างฟันคืออะไร

การปิดช่องว่างฟัน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
  1. การนำวัสดุอุดฟันประเภทคอมโพสิตเรซิน หรือวัสดุอุดฟันที่มีสีเหมือนฟันมาอุดปิดฟันห่างเพื่อที่จะทำการตกแต่งฟันให้ชิดกัน ส่วนใหญ่นิยมทำในฟันหน้ามากกว่าฟันหลัง
  2. การทำวีเนียร์ จะทำในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนรูปร่างของฟัน หรือเปลี่ยนสีฟันร่วมด้วย ซึ่งการทำวีเนียร์จะใช้วัสดุได้ 2 ประเภท คือ คอมโพสิต และ เซรามิก ซึ่งการทำเซรามิกวีเนียร์จะให้ความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่า

สาเหตุของช่องว่างฟันเกิดจากอะไร

  • กรณีฟันแท้ไม่ขึ้น ทำให้มีช่องว่างบริเวณดังกล่าว
  • เกิดจากนิสัยชอบดูดนิ้วและใช้ลิ้นดุนฟันเวลากลืนเกิดแรงดันที่ฟันหน้าเกิดเป็นช่องว่าง จนเกิดแรงกระทำซ้ำ ๆผลักฟันหน้าให้ห่างกัน
  • เกิดจากเอ็นยึดร่องเหงือกอยู่ต่ำ หรือใกล้ฟันมากไป
  • ภาวะกลืนน้ำลายผิดปกติ โดยจะใช้ลิ้นยื่นมาแตะบริเวณฟันหน้าบนหรือฟันหน้าล่าง โดยไม่มีการสัมผัสบริเวณเพดานปากลง ส่งให้ผลต้องใช้กล้ามเนื้อรอบริมฝีปากในการช่วยกลืนแทน ทำให้เกิดแรงดันฟันหน้าและเกิดฟันหน้าห่างออกไปเรื่อย ๆ
  • เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรง หรือโรคปริทันต์ ส่งผลกระทบต่อบริเวณข้างเคียงด้านซี่ฟันจนทำให้เกิดฟันโยก เกิดช่องว่างระหว่างฟันได้
  • ลักษณะทางพันธุกรรม มักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ฟันแท้ที่ขึ้นมามีซี่เล็กกว่าปกติ หรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือมีขนาดของฟัน กระดูกขากรรไกรที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน

ใครที่ควรรักษาฟันห่าง

  • ผู้ที่มีฟันหน้า หรือ ฟันหลังห่าง
  • ผู้ที่มีขนาดช่องว่างไม่ควรเกิน 2-3 มิลลิเมตร หากใครมีช่องว่างหากมากอาจทำให้ฟันดูซี่ใหญ่ ดูไม่สวยงาม อาจต้องทำการแก้ไขด้วยวิธีการจัดฟันแทน

การรักษาปิดช่องว่างฟันมีกี่วิธีอะไรบ้าง

หากเกิดอาการฟันห่างบริเวณฟันหน้า ก็ควรที่จะทำการรักษาปิดช่องว่างฟันเพื่อความสวยงามของฟัน ซึ่งวิธีการรักษาปิดช่องว่างฟันสามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่ออุดหรือปิดช่องว่างได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีดังนี้ 1. การจัดฟัน โดยทันตแพทย์จะเลือกวิธีการจัดฟันแบบติดแบร็คเก็ต และลวด เพื่อใช้หลักการดึงฟันให้ค่อย ๆ เรียงตัวชิดกันได้สวยอย่างเป็นระเบียบ 2. การอุดปิดช่องว่าง หรือ การทำวีเนียร์ การอุดฟันหรือการทำวีเนียร์เพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่งฟัน 2 ซี่ เป็นอีกกระบวนการทางทันตกรรมที่ได้ผล วิธีเหล่านี้เป็นการใช้วัสดุที่มีสีเหมือนกับฟันของคนไข้มาปิดช่องว่าง (วัสดุที่เลือกใช้ก็จะมีคอมโพสิต หรือเซรามิก) 3. การผ่าตัด การผ่าตัดเป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะใช้การผ่าตัดสำหรับกรณีที่มีเนื้อเยื่อขอบเหงือกลงมาแทรกระหว่างฟันมากไป ทำให้ฟันห่างจากกัน ซึ่งทันตแพทย์อาจต้องผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เกินออกไปเพื่อให้ฟันเรียงตัวชิดติดกัน และหากคนไข้มีอาการฟันห่างมากเกินไปอาจต้องใช้วีการจัดฟันเข้ามาร่วมด้วย

การปิดช่องว่างฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันคอมโพสิต

การปิดช่องว่างฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน จะมีขั้นตอนที่ง่าย และสามารถทำเสร็จเรียบร้อยได้ในครั้งเดียว ไม่เจ็บ มีสีสวย ราคาไม่แพง แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างคือ มีอายุการใช้งานที่ไม่นาน หากใช้ไปนาน ๆ สีของวัสดุอาจจะเปลี่ยนได้ และมีความแข็งแรงคงทนไม่สู้การทำแบบวีเนียร์ อาจแตก หรือหักได้ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง
ภาพตัวอย่างก่อน-หลังเคสปิดช่องว่างฟันห่างด้วยคอมโพสิต

การปิดช่องว่างฟันห่างด้วยวีเนียร์

  • เป็นการปิดช่องฟันห่างที่คุณหมอจะกรอผิวฟันออกเล็กน้อย จากนั้นจะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำการเคลือบฟันเทียมหรือวีเนียร์ให้คนไข้
  • ซึ่งการทำเคลือบฟันเทียมจะทำจากพอร์ซเลนที่มีลักษณะสีเหมือนฟัน มีความใส สวยงาม วิธีนี้มีข้อดีคือมีความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ และสีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงสามารถปรับรูปฟันเก ฟันห่าง ฟันเรียงตัวไม่สวย สามารถทำฟันแล้วกลับมาเรียงตรงสวยเป็นระเบียบได้ และเลือกสีฟันได้ว่าต้องการให้ขาวระดับไหน
ภาพตัวอย่างก่อน-หลังเคสปิดช่องว่างฟันห่างด้วยการทำเซรามิกวีเนียร์

ข้อดีของการปิดช่องว่างระหว่างฟัน

  • ทำให้คนไข้ออกเสียงพูดได้ปกติ
  • ทำให้คนไข้มีความมั่นใจในการยิ้ม พูด
  • ง่ายต่อการทำความสะอาด แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน
  • การปิดช่องว่างระหว่างฟัน จะใช้วัสดุอุดฟันคอมโพสิตเรซินที่มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ สามารถเลือกสีได้ให้เหมือนกับสีฟันของคนไข้
  • การปิดช่องว่างฟันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ใช้เวลาไม่นาน
  • สามารถดูแลรักษาง่าย มีอายุการใช้งานนานพอสมควร
  • ราคาค่ารักษาไม่สูง

ข้อเสียของการที่มีฟันห่าง

ฟันห่างทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการกัด การบดเคี้ยวอาหาร รวมถึงในเวลาส่งรอยยิ้ม หรือพูดคุยกับผู้อื่นอาจทำให้ขาดความมั่นใจได้เช่นกัน นอกจากนี้จะทำให้การดูแลรักษาความสะอาดทำได้ยากกว่า และอาจมีปัญหาเรื่องเศษอาหารติดเวลากัดอาหาร หรือบดเคี้ยวอาหาร

ขั้นตอนการปิดช่องว่างฟัน

  1. ปรึกษาพูดคุยกับทันตแพทย์ถึงปัญหา และแผนการรักษา
  2. ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันของคนไข้ เพื่อประเมินว่ามีปัญหามากน้อยแค่ไหน และสามารถทำการปิดช่องว่างได้หรือไม่
  3. ทันตแพทย์จะทำการกรอผิวฟันเล็กน้อยเพื่อเตรียมผิวฟันในการยึดติดกับวัสดุ
  4. ทันตแพทย์จะทำการยึดวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันเข้ากับผิวฟันในบริเวณช่องฟันที่ห่าง
  5. ทันตแพทย์จะทำการขัดวัสดุอุดฟันให้ดูเรียบ ลื่น สวยงาม
  6. ทันตแพทย์จะแนะนำถึงวิธีการดูแลรักษา และการทำความสะอาดเพื่อให้ได้อายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด

วิธีป้องกันการเกิดฟันห่าง

ปัญหาฟันห่าง อาจจะไม่สามารถควบคุมได้เพราะอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติเกี่ยวกับช่องปากแต่กำเนิด แต่การป้องกันฟันห่างสามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่ให้เด็กติดนิสัยดูดนิ้ว หรือ พยายามปรับการกลืนให้ลิ้นแตะเพดานปาก แทนที่จะไปดันฟัน รวมถึงหมั่นดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันไม่ให้เกิดโรคเหงือก และสิ่งสำคัญคือการเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน

ควรหาคลินิกที่ปิดช่องว่างฟันที่ไหนดี

แนะนำให้เลือกคลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัยจากกระทรวงสาธารณสุข มีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย และครบครัน พร้อมอำนวยความสะดวกในการรักษาทันตกรรมได้ทุกประเภท รวมทั้งภายในคลินิกต้องมีความสะอาด และมีการดูแลและให้บริการคนไข้อย่างดี ใส่ใจตอบคำถามคนไข้อย่างละเอียดชัดเจน ที่สำคัญที่สุดคือ ควรที่จะทำการรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทางทางด้านความสวยงามโดยตรง เพื่อให้ผลของการรักษาออกมาดีที่สุด เราขอแนะนำคลินิกทันตกรรมในเครือสไมล์เด็นทอลกรุ๊ป  

บริการด้านทันตกรรม